ข้อควรระวังในการใช้งานเครื่องกำเนิดไฟฟ้า

ข้อควรระวังในการใช้งานเครื่องปั่นไฟ เครื่องกำเนิดไฟฟ้า Generator บทความเครื่องกำเนิดไฟฟ้า

ข้อควรระวังในการใช้งานเครื่องกำเนิดไฟฟ้า

1.) ก่อนจะตรวจเช็คอุปกรณ์ใดๆ ของเครื่องกำเนิดไฟฟ้า ถ้าระบบของเครื่องกำเนิดไฟฟ้าเป็นแบบจ่ายกระแสอัตโนมัติ ให้ปรับไปที่ตําแหน่ง OFF หรือปลดขั้วสายแบตเตอรี่ออกเสียก่อน เพื่อป้องกนการเกิดอุบัติเหตุจากเครื่องยนต์สตาร์ทเองขณะทําการตรวจเช็ค
2.) ห้ามเปิดฝาหม้อน้ำในขณะที่เครื่องยนต์ยังร้อนอยู่
3.) ไม่จ่ายกระแสเกินกำลังของเครื่องกำเนิดไฟฟ้า
4.) ไม่ควรปรับอุปกรณ์ใดๆ ขณะจ่ายกระแสไฟฟ้า ถ้ามีความผิดปกติใดๆ ให้งดจ่าย Load แล้วจึงทำการแก้ไข
5.) ไม่ควรทิ้งเครื่องยนต์โดยไม่มีผู้ดูแลขณะเครื่องกำลังทำงานอยู่
6.) ไม่ควรเปิด-ปิดเบรกเกอร์สำหรับจ่าย Load บ่อยๆ โดยไม่จำเป็น
7.) สถานที่ติดตั้งเครื่องกำเนิดไฟฟ้า ต้องมีการระบายอากาศเป็นอย่างดีและไม่ควรมีฝุ่นละออง ไม่เป็นสถานที่เก็บสารเคมีหรือวัตถุไวไฟอื่นๆ นอกจากน้ำมันเชื้องเพลิงเครื่องยนต์เท่านั้น
8.) ขณะจ่าย Load ควรตรวจสอบกระแสไฟฟ้า แรงดันไฟฟ้า ความถี่ทางไฟฟ้าอยู่เสมอ
9.) ขณะจ่าย Load ควรตรวจสอบแรงดันน้ำมันเครื่องและอุณหภูมิของเครื่องยนต์
10.) ในการติดตั้งเครื่องกำเนิดไฟฟ้า จำเป็นต้องเดินสายดินโดยต่อกับแท่งทองแดง หรือ Ground Rod ที่ฝังอยู่ใต้ดินตามมาตรฐานกำหนด ทั้งนี้ต้องต่อตัวเครื่องยนต์และตู้ควบคุม

แนวทางการปฏิบัติที่ควรยึดถือในการใช้งาน

1.) ทําการบํารุงรักษาชุดเครื่องกำเนิดไฟฟ้า ตามกำหนดเวลาการบํารุงรักษา ซึ่งรวมถึงการตรวจสอบก่อนการเดินเครื่องยนต์
2.) อย่าใช้งานเครื่องยนต์โดยไม่ใส่ตัว Thermostat
3.) ใช้น้ำมันหล่อลื่นที่มีคุณภาพดี
4.) ใช้น้ำมันเชื้อเพลิงที่ปราศจากการเจือปปนของน้ำหรือสารอื่นๆ
5.) ตะหนักถึงข้อควรระวังความปลอดภัย
6.) อย่าใช้งานชุดเครื่องกำเนิดไฟฟ้าเกินพิกัด
7.) ควรหลีกเลี่ยงสิ่งต่อไปนี้คือ
– หลีกเลี่ยงการใช้งานจนเครื่องยนต์ร้อนจัด อุณหภูมิน้ำหล่อเย็นต้องไม่เกิน 95 °C
– หลีกเลี่ยงการใช้งานในลักษณะอุณหภูมิน้ำหล่อเย็นต่ำกว่า 60 °C การใช้งานอย่างต่อเนื่องโดยที่อุณหภูมิน้ำหล่อเย็นต่ำกว่า 60 °C อาจเป็นผลเสียต่อเครื่องยนต์ เนื่องจากอุณหภูมิน้ำหล่อเย็นต่ำเกินไปจะทำให้เครื่องยนต์เผาไหม้ไม่สมบูรณ์ เป็นผลให้มีการสะสมของคาร์บอน จนทำให้แหวนลูกสูบและหัวฉีดชำรุด นอกจากนั้นน้ำมันเชื่อเพลิงที่ตกค้างจากการเผาไหม้ไม่สมบูรณ์เมื่อปนกับน้ำมันหล่อลื่นในเสื้อสูบ จะทำให้น้ำมันหล่อลื่นเสื่อมคุณภาพเร็วขึ้น
– หลีกเลี่ยงการเดินเครื่องยนต์โดยระดับแรงดันน้ำมันหล่อลื่นต่ำเกินเกณฑ์กำหนดเครื่องยนต์ใช้งาน ในสภาวะปกติแรงดันน้ำมันหล่อลื่นจะต้องไม่ต่ำกว่าระดับกำหนดดังนี้ จึงจะไม่ทำให้เครื่องยนต์ชำรุด กรณีเมื่อเครื่องเดินเบา รอบเครื่องประมาณ 800 RPM 10 PSI (0.07 Mpa) และเมื่อเครื่องใช้งาน รอบเครื่องประมาณ 1500 RPM 40 PSI (0.28 Mpa)
– หลีกเลี่ยงการใช้งาน เมื่อชิ้นส่วนของเครื่องยนต์ชำรุด โดยทั่วไปแล้วการชำรุดของชิ้นส่วนต่างๆ มักมีสัญญาณบอกเหตุก่อนที่ชิ้นส่วนนั้นๆ จะชำรุด ผู้ใช้อาจทราบได้จากการเปลี่ยนแปลงในสมรรถนะของเครื่องกำเนิดไฟฟ้า เช่น มีเสียงผิดไปจากปกติ หรือการสังเกตด้วยสายตา ข้อสังเกตบางประการ เช่น เครื่องยนต์สันแรงเกินไป, เครื่องยนต์หรือเครื่องกำเนิดไฟฟ้าสูญเสียกำลังทันทีทันใด, เสียงของเครื่องยนต์หรือเครื่องกำเนิดไฟฟ้าผิดไปจากสภาวะปกติ, ไอเสียมากกว่าปกติ, แรงดันน้ำมันหล่อลื่นต่ำกว่าปกติ, น้ำมันหล่อลื่น น้ำหล่อเย็นรั่วซึม ฯลฯ

Cr. http://www.research-system.siam.edu/images/EE/CO-OP60/3-59/kumpree2/07_ch2.pdf