ขั้นตอนการบํารุงรักษาเครื่องปั่นไฟ Generator

ขั้นตอนการบำรุงรักษาเครื่องกำเนิดไฟฟ้า Generator บทความเครื่องกำเนิดไฟฟ้า

การดูแลบำรุงรักษาเครื่องปั่นไฟ หรือเครื่องกำเนิดไฟฟ้า (Generator)

ถือเป็นสิ่งสำคัญและสิ่งจำเป็นอีกอย่างหนึ่งที่ไม่ควรมองข้าม เพราะการบํารุงรักษาเป็นการลดโอกาสการชำรุดเสียหายที่จะช่วยทำให้เครื่องกำเนิดไฟฟ้าหรือเครื่องปั่นไฟมีอายุการใช้งานที่ยาวนานขึ้น ส่งผลให้เครื่อง Generator มีสภาพพร้อมใช้งานอยู่ตลอดเวลาและทำงานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ มีความคงทน มีความปลอดภัยในการใช้งานสูง รวมถึงยังมีความปลอดภัยทั้งต่อชีวิตและทรัพย์สินอีกด้วย ยิ่งหากเรามีการดูแลบำรุงรักษาอย่างสม่ำเสมอ เปลี่ยนอะไหล่/ชิ้นส่วนตามรอบอายุการใช้งาน ก็สามารถช่วยลดภาระค่าใช้จ่ายในการซ่อมหรือซื้อเครื่องใหม่โดยไม่จำเป็น

ขั้นตอนการบํารุงรักษา (Check List) ของเครื่องกำเนิดไฟฟ้า หรือเครื่องปั่นไฟ (Generator) มีดังนี้

การบำรุงรักษาเครื่องปั่นไฟ/เครื่องกำเนิดไฟฟ้า โดยผู้ใช้งาน

1.) ควรทำการตรวจสอบทุกวัน

  • ทำความสะอาดโรงไฟฟ้า ตู้ควบคุม
  • ตรวจระดับน้ำมันหล่อลื่นเครื่องยนต์
  • ตรวจสอบระดับน้ำในหม้อน้ำ
  • ตรวจสอบการรั่วซึมของน้ำและน้ำมันต่างๆ
  • ตรวจระดับน้ำมันเชื้อเพลิง
  • ตรวจความตึงสายพาน
  • ตรวจสอบข้อต่อสายไฟ

2.) การทำความสะอาดหม้อน้ำรังผึ้งด้านนอก

ตรวจสอบเดินเครื่องยนต์และตรวจสอบค่าต่างๆ เช่น แรงดันไฟฟ้าความถี่ อุณหภูมิเครื่องยนต์ แรงดันน้ำมันเครื่อง เช่น

  • ตรวจสอบระดับน้ำกลั่นแบตเตอรี่ ขั้ว และสายแบตเตอรี่
  • ตรวจสอบเครื่องประจุไฟฟ้าของแบตเตอรี่
  • ไล่ความชื้นและน้ำออกจากที่กรองน้ำมันเชื้อเพลิง
  • ทําความสะอาดหม้อน้ำรังผึ้งด้านนอก

การบำรุงรักษาเครื่องปั่นไฟ/เครื่องกำเนิดไฟฟ้า โดยทีมช่าง

1.) การบำรุงรักษาเครื่องกำเนิดไฟฟ้า ทุกรอบ 3 เดือน

  • ถ่ายน้ำมันหล่อลื่น
  • เปลี่ยนไส้กรองน้ำมันหล่อลื่น
  • ทำความสะอาดไส้กรองอากาศ
  • ตรวจสอบท่อยางและเหล็กรัดท่อ
  • ตรวจสอบน๊อตและสกรูของจุดต่อสายไฟ
  • ตรวจสอบข้อต่อส่งกำลัง

2.) การบำรุงรักษาเครื่องกำเนิดไฟฟ้า ทุกรอบ 6 เดือน

  • เปลี่ยนไส้กรองอากาศ
  • เปลี่ยนไส้กรองน้ำมันเชื้อเลิง

3.) การบำรุงรักษาเครื่องกำเนิดไฟฟ้า ทุกรอบ 12 เดือน

  • ปรับตั้งระยะห่างวาล์ว
  • ถ่ายน้ำหล่อเย็น
  • ทำความสะอาดหม้อน้ำรังผึ้งด้านใน
  • ขันน๊อตฝาสูบและเสื้อสูบ
  • ถ่ายน้ำและเศษสกปรกออกจากถังน้ำมันเชื้อเพลิง
  • ตรวจสอบใบพัดระบายอากาศ
  • ตรวจสอบรอยรั่วซึมที่หัวฉีดน้ำมันเชื้อเพลิง
  • ตรวจสอบ Shutdown Sensors

หมายเหตุ : จากรายละเอียดการบำรุงรักษาข้างต้น เป็นแนวทางปฏิบัติซึ่งแนะนำให้ใช้กับเครื่องยนต์ทั่วไป ดังนั้นผู้ใช้งานเครื่องกำเนิดไฟฟ้า (Generator) ควรศึกษาการบำรุงรักษาเครื่องยนต์จากหนังสือคู่มือของเครื่องยนต์โดยตรง (ถ้ามี) ทั้งในด้านวิธีปฏิบัติและระยะเวลาการบำรุงรักษา

Cr. http://www.research-system.siam.edu/images/EE/CO-OP60/3-59/kumpree2/07_ch2.pdf